วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการฝึกอบรมศิลปาชีพ
บนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 เวลา 12.00 น.
พล.ต.ต.วัฒนา บุนนาค ผบก.ตชด.ภาค 3 ,
พ.ต.อ.กุลเชษฐ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผกก.ตชด.33,
พ.ต.ท.ชัชวาล สุคธมาน หนผ.5 กก.ตชด.33
ได้เดินทางเข้าพบท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์
ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ .งได้ขอให้นำข้อมูลเกี่ยว
กับหมู่บ้านยากจน ในพื้นที่ จว.แม่ฮ่องสอน และ
จ.เชียงใหม่ ไปพบ เนื่องจากได้รับพระราชเสาวนีย์
์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ให้ตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในเขตหมู่บ้านดังกล่าว
มาเข้ารับการอบรมวิชาชีพที่ศูนย์ฝึกศิลปาชีพบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากการเข้าพบในครั้งนี้ได้มี
ดร.ไพศาล ล้อมทองและคุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังซึ่งดูแลเรื่องการฝึกอาชีพนี้ร่วมพิจารณาด้วย
จากการนำเสนอข้อมูลราษฎรในหมู่บ้านยากจนเข้าชี้แจงครั้งนี้ ท่ายผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ได้พิจารณา
และขอให้ทางกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 และกงอกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33
พิจารณาความเหมาะสมและสมัครใจของราษฎรหมู่บ้านยากจนในเขต จ.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ มาเข้าอบรม
ศิลปาชีพในพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จำนวน 29 คนเป็น ชาย-หญิง ที่สมัครใจโดยมิต้องมีความรู้วิชาชีพเดิม
มาก่อนก็ได้ โดยให้ชี้แจงแกราษฎรว่ามีวิชาชีพต่างๆ ให้เลือกฝึก ทางศูนย์ศิลปาชีพจัดที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้า
และเบี้ยเลี้ยง วันละ 50.- บาทให้ด้วย ขอให้นำราษฎรที่สมัครใจเข้ารับการอบรมโดยเร็ว ช่วงระยะเวลาในช่วงแรก
ที่ทรงแประพระราชฐานอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์นี้
ดร.ไพศาล ล้อมทอง ได้ขอข้อมูลเบื้องต้น หมู่บ้านที่นำราษฎรมาอบรมแผนผังหมู่บ้าน เส้นทางเข้า-ออก หมู่บ้าน
โดยสังเขปทั้งหมดด้วย และขอให้จัดเจ้าหน้าที่ ตชด.1 นาย เพื่อช่วยประสานงานในศูนย์ฝึกบนพระตำหนักภูพิงค์ด้วย
ผกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.พงค์พิชญ์ วงศ์สวัสดิ์ ปจผ.5กก.ตชด.33เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตระเวนชายแดนที่มีความรู้ทางภาษาท้องถิ่น 1 นายเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน
คุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา ได้นำคณะ ผบก.ฯไปเยี่ยมชมการฝึกอาชีพต่างๆ ที่ศูนย์ในพระตำหนักซึ่งมีอาชีพ
สาขาต่างๆ ได้แก่

- ฝึกทอผ้า - ดอกไม้ประดิษฐ์
- ช่างเงิน - ช่างถมทอง
- ช่างปั้นเซรามิก - ตัดเย็บเสื้อผ้า
- วาดภาพ - แกะสลักไม้
ฯลฯ

และได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ในการติดต่อประสานงานในเรื่องนี้คือ โทร.223066-72
กก.ตชด.33 ได้รับนโยบาย และได้เร่งดำเนินการพิจารณาจากหมู่บ้านยากจน จาก จ.แม่ฮ่องสอน , จ.เชียงใหม่
ตามที่ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับหมู่บ้านที่ทาง กก.ตชด.33 เข้าไปพัฒนาเสริมความมั่นคงอยู่ เพื่อเข้ารับการอบรมโดยด่วน
และสามารถรับราษฎรมาเข้ารับการอบรมได้ในวันที่ 4 มี.ค.2534 กก.ตชด.33ได้คัดเลือกราษฎรในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ,
จ.แม่ฮ่องสอน เข้ารับการฝึกอบรมศิลปาชีพ ณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในครั้งนี้ จำนวน 29 คน โดยแยกได้ ดังนี้
1. บ้านห้วยหอย ต.แม่วิน กิ่ง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
1.1 นายดี บอแป๊ะ
1.2 นายเกชิด พะแก
2. อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
2.1 นายซอกิริ เฉิดโฉมฉาย
2.2 นายทองสุข ไพรขจี
2.3 น.ส.พร กันเต็ง
2.4 น.ส.นงคราญ ปิ่นตาคำ
2.5 น.ส.หน่อปูทอ เฉิดโฉมฉาย
2.6 น.ส.มะลิวัลย์ เชิงประโคนรักษ์
2.7 น.ส.แสงรักษ์ นำผลนักรบ
2.8 นายไพโรจน์ ซาววงศ์
2.9 นายตัน ซาววงศ์
2.10 น.ส.แสงคำ เกิดสันติสุข
2.11 น.ส.สมศรี จองก่า
2.12 นายแดง นิ่มนวลสิงขร
2.13 นายส่วยคำ ลักษณะพรรณดี
2.14 นายยุติ วาทีบุปผา
2.15 น.ส.สวย เหล่าตระกูลไพร
2.16 น.ส.อังคณา สุเสถียรจรัส
3. อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
3.1 นายสมศักดิ์ ฤดีพรพรรณ
3.2 นายสมหวัง สถิตย์สุนทร
3.3 น.ส.ประยงค์ -
3.4 น.ส.สำลี กอนันทนานนท์
3.5 นายจำลอง ก้อนปัญจธรรม
3.6 นายอำพัน ผาตินันทะชัย
3.7 นายสุพจน์ ชมชอบธรรม
3.8 นายกระจ่าง -
3.9 นายกุแนะ -
3.10 น.ส.ฟองจันทร์ ปกรณ์ไพรวนา
3.11 น.ส.บุญธรรม ใจรวมหมู่
ผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 29 คน ได้เลือกฝึกอบรม 3 แผนก ดังนี้
1. แผนกเกษตรหมู่บ้าน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 15 คน
- การปลูกข้าวไร่ - การปลูกข้าวโพด
- พืชผักสวนครัว - การติดตา การตอน ทาบกิ่ง เสียบยอด
- การขุดบ่อเลี้ยงปลา - การเลี้ยงปลานิล,ปลาไน
2. แผนกทอผ้าฝ้าย มีผู้รับเข้าการอบรม จำนวน 6 คน
- การทอฝ้ายขั้นพื้นฐาน - การเก็บตะขอ
- การย้อมสีฝ้าย ( สีเคมี )
3. แผนกปักผ้า มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 8 คน
- ปักผ้าลายชาวเขา - ปักผ้าลายดอกไม้
การฝึกอบรมใช้วิทยากรจากศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา กทม.ฯ พร้อมทั้ง จนท.เกษตรในพระองค์ประจำพระตำหนัก
ภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นวิทยากรบรรยาย จนเสร็จสิ้นการอบรม ในระหว่างการฝึกอบรมทางศูนย์ฯได้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ
50.-บาท/คน โดยทางศูนย์ฯจ่ายเงินเป็นงวดๆ ละ 6 วัน ผู้เข้ารับการอบรมได้รับเงินทั้งหมด 3 งวดๆละ 300.-บาท ( ยกเว้น
วันแรกได้รับ 250.-บาท )
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการอบรม จนถึงวันที่ 24 มี.ค.34 และได้รับเงินพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ดังนี้
- ได้รับรายละ 5,000.- บาท 2 ราย
1. นายไพโรจน์ ซาววงศ์
2. นายตัน ซาววงศ์
- ได้รับรายละ 4,000.- บาท 2 ราย
1. นายซอกิริ เฉิดโฉมฉาย
2. นายทองสุข ไพรขจี
- ได้รับรายละ 3,000.- บาท 25 รายที่เหลือทั้งหมด
ราษฎรทั้ง 29 คน ที่จบการฝึกอบรมฯ ไปแล้วได้กลับไปประกอบอาชีดที่ภูมิลำเนาของตนเอง ตั้งแต่ มี.ค.34เป็นต้นมา
และกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร้อย ตชด. ในพื้นที่รับผิดชอบจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามผลการปฏิบัติงาน พร้อมกับ
รับทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อจะนำไปแก้ไขต่อไป พร้อมกับรายงานผล


อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_12.html
โครงการสัตว์เลี้ยงพระราชทาน



ความเป็นมา


บก.ตชด.ภาค 3 ได้รับมอบพันธุ์โคและสุกร จากโครงการเกษตรแม่แตง ( อยู่ในความรับผิดชอบของ มว.พก.
ร้อย ตชด. 332 ) และมอบให้ กก.ตชด. 31 – 34 นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดารและชาวไทยภูเขาเพื่อ
ไปขยายพันธุ์

โคพระราชทานในส่วนของ บก.ตชด.ภาค 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานโคพันธุ์อเมริกันบรามัน 1 ตัว ชื่ออพอลโล่ ให้ กก.ตชด.เขต 9 และนำไปเลี้ยงไว้ที่ กองร้อย 2 อ.นาทวี
จ.สงขลา พระราชประสงค์ในการมอบ โคพันธุ์ เพื่อให้ ตชด.นำไปเลี้ยงขยายพันธุ์กับโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อแจกจ่าย
ให้กับราษฎรที่ยากจนในถิ่นทุรกันดารโดยให้ราษฎรที่มีแม่โคพันธุ์พื้นเมืองนำมาผสมพันธ์กับโคพันธุ์พระราชทาน
ที่กองร้อย 2 ฯ โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ได้ลูกตัวแรกให้ตกเป็นของเจ้าของแม่โค และลูกโคตัวที่ 2
เป็นของ ตชด. ข้อตกลงนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายปี ต่อมาการผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพ่อโค
อายุมาก และน้ำหนักตัวมากและโคพันธุ์พระราชทานก็ตายเพราะอายุมาก สำหรับลูกโคที่ ตชด.ได้รับไว้
ส่วนมากจะเป็นพันธุ์ผสมอเมริกันบรามัน 65 เปอร์เซ็นต์ และได้แจกจ่ายให้กับ กองร้อย ตชด.
และ ร.ร.ตชด.เพื่อทำการขยายพันธุ์ตามพระราชประสงค์

ผลการปฏิบัติ :
ต.ค. – ก.ย.45 บก.ตชด.ภาค 3 และบก.ตชด.ภาค 4 ได้รายงานยอดสัตว์เลี้ยง ดังนี้
บก.ตชด.ภาค 3
1. กก.ตชด.31 โค จำนวน 12 ตัว
สุกร จำนวน 7 ตัว
2. กก.ตชด.32 โค จำนวน 14 ตัว
3. กก.ตชด.33 โค จำนวน 53 ตัว
ล่อ จำนวน 0 ตัว
สุกร จำนวน 9 ตัว
4. กก.ตชด.34 โค จำนวน 5 ตัว
บก.ตชด.34
1. กก.ตชด.42 โค จำนวน 0 ตัว
2. กก.ตชด.43 โค จำนวน 8 ตัว
3. กก.ตชด.44 โค จำนวน 0 ตัว
***จำนวนโคอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการตายหรือการเกิด


อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_11.html
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงครองราชย์ ปีที่ 50


ความเป็นมา l พื้นที่ดำเนินการ
ความเป็นมา
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
เกิดขึ้นด้วยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินาถ เมื่อวันที่ 26 ธัวาคม พ.ศ.2535 ให้หา
มาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร โดยทรงโปรดให้พิจารณาปัญหาการขาดแคลนน้ำ
ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของชาติที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนที่สุด รัฐบาลได้อัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนาง
เจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ซึ่งเป็นเขตป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมสภาพ
โดยเร่งด่วน ดังนั้นจึงได้ขัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน
วโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ขึ้น
โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 กำหนดให้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2539
มีเป้าหมายให้ปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่เสื่อมโทรม 5 ล้านไร่ รวมทั้งพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ด้วยการดำเนินโครงการฯ
ในระยะนี้ เนื่องจากผู้ร่วมโครงการฯ ยังมีประสบการณ์ปลูกป่าน้อย และช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานสั้นเกินไปจึง
ดำเนินงานไม่ได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จึงได้มีการขยายระยะเวลาของโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
16 กันยายน 2540 ให้ขยายเวลาออกไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 – พ.ศ.2545 เป็นระยะที่ 2 ซึ่งในระยะนี้ เป็นช่วงเวลาที่
ประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทำให้ผู้ร่วมโครงการฯ จำนวนมากชลอหรือหยุดการดำเนินการปลูกป่า เมื่อสิ้น
ระยะที่ 2 จึงดำเนินการปลูกป่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปได้ประมาณ 3.4 ล้านไร่ ยังขาดอยู่อีกประมาณ 1.6 ล้านไร่ จึงจะครบ
เป้าหมายที่กำหนดไว้ 5 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ดำเนินงานได้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว
รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของโครงการฯ นี้ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจได้ฟื้นคืนสภาวะปกติคณะรัฐมนตรีจึงได้
มีมติ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ให้ขยายระยะเวลาโครงการฯ ต่อไปเป็นระยะที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2550
เป็นเวลา 5 ปี โดยมีป้าหมายดำเนินงานปลูกป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรมตามโครงการฯ นี้ ให้ได้อีก 1.6 ล้านไร่
เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ครบถ้วนตามเป้าหมาย 5 ล้านไร่ แล้วนำน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อขยายพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ โดยการปลูกไมพื้นเมืองในพืนที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรม ให้ได้ 5 ล้านไร่
2. เพื่อให้ประชาชนฃาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 และดูแลต้นไม้ที่ปลูกอย่างถาวรด้วยความรัก
3. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนชาวไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และ
การอนุรักษ์ให้ทรัพยากรป่าไม้คงอยู่อย่างยั่งยืน

ระยะเวลาดำเนินงานโครงการฯ
- ระยะที่ 1
- ระยะที่ 2
- ระยะที่ 3
ทำการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าตามธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้ได้ตามเป้าหมายจำนวน
5 ล้านไร่ โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน โครงการฯ ในระยะที่ 3 พ.ศ.2546 – 2550 รวม 5 ปี

การเข้าร่วมโครงการฯ
ปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ดำเนินการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2546 – 2550) ในการนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำเนินการ จำนวน
1,000 ไร่

การเข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ต้องการบริหารและดำเนินการปลูกป่าเองให้แสดงความจำนงจองพื้นที่ ปลูกป่าจาก
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพรรณพืฃ หรือสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่เพื่อทำการปลูกและ
บำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือจัดจ้าง ผู้แทนเข้าดำเนินการในอัตรา 3,000 บาท /ไร่ (ค่าปลูกป่าจำนวน 2,000 บาท
ค่าบำรุงรักษาอีก 2 ปี ปีละ 500 บาท) โดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ สนับสนุนกล้าไม้ ให้คำแนะนำทางด้านวิชาการ
และอำนวยความสะดวกด้านต่างๆที่จำเป็นตลอดระยะเวลา 3 ปี
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ไม่ประสงค์ปลูกป่าเองสามารถบริจาคเงินสมทบกองทุนปลูกป่าตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป
ในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช นำเงินจากกองทุนไปจ้างผู้อื่นดำเนินการปลูกป่าและบำรุงป่า ตลอด
ระยะเวล 3 ปี

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_9.html
โครงการพัฒนา 5 หมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ
( บ.พะเด๊ะ,บ.ถ้ำเสือ,บ.ขุนห้วยแม่สอด,บ.หนองน้ำเขียว,บ.โกช่วย)


ความเป็นมา l การบริหารแผน
ความเป็นมา


เมื่อวันที่ 29 – 30 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโครงการ
ตามแนวพระราชดำริที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่ อ.อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก มีพระราชกระแสผ่าน
ว่าที่ ร.ต.กิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ดำเนินงาน
และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนในพื้นที่ อุ้มผาง และอ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้งให้ตำรวจตระเวน
ชายแดนจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติการจิตวิทยาขุนห้วยแม่สอด (ร.ร.ตชด. ชั่วคราว) เป็นโรงเรียนที่ระลึกแก่ ท่านผู้หญิงทวี
มณีนุตร พระอภิบาลซึ่งถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ตก เมื่อ 19 ก.ย. 40
ต่อมาเมื่อ 2 มค. 41 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสเพิ่มเติมกับว่าที่ ร.ต.กิตติ
ิ ขันธมิตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรดา เป็นการเพิ่มเติม สรุปสระสำคัญได้ว่า ให้มีการพัฒนาหมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้าน
ถ้ำเสือและหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้หมู่บ้านขุนห้วยแม่สอดเป็นศูนย์กลางการ
พัฒนา(ต่อมาเพิ่มอี 2 หมู่บ้าน คือ บ.หนองน้ำเขียว และ บ.โกช่วย รวมเป็น 5 หมู่บ้าน) ในการพัฒนาดังกล่าวทรงโปรด
ให้ดำเนินงาน แบบศูนย์การศึกษาพัมนาขนาดเล็ก โดยให้มีกิจกรรมครอบคลุมการแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ
รวม 4 ด้าน ดังนี้
1. ให้แก้ปัญหาด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย
2. ให้พัมนาอาชีพของประชาชนในพื้ นที่ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่
4. ให้อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมเกรี่ยง ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี
ภาษาพูดและภาษาเขียน
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริแล้ว สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สามเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกมารี ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยราชการในพื้นที่ได้จัดการประชุมร่วมกันเพื่อ
จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านพะเด๊ะ หมู่บ้านเสือถ้ำ และหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด
ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก
แผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้าน ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย 6 แผนงาน ดังนี้
1. แผนงานด้านสาธารณสุข
2. แผนงานด้านการศึกษา
3. แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาชุมชน
4. แผนงานด้านการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1. เพื่อแก้ไขปัญเฉพาะหน้าที่ประชาชนเผชิญอยู่ ทั้งปัญหาด้านสาธารณสุข การศึกษา อาชีพ และปัญหาอื่นๆ
ของชุมชน
2. เพื่อจัดเตรียมประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างถาวร
3. เพื่อให้ชุมชนเป็ฯศูนย์การศึกษาพัฒนาของท้องถิ่นใกล้เคียง

แนวทางในการพัฒนา
1. มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมาย “พอมี พอกิน และอยู่อย่างเป็นสุข”
2. มีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุดแข็งทางวัฒนธรรรมทางสังคมให้เป็นประโยชน์ในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้กลับสู่ความสมบูรณืมีความสมดุล
กับระบบนิเวศน์ในพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้
3. การรักษาวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมอันดี โดยมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรม
ของประชาชนในชุมชนรวมทั้งประยุกต์กิจกรรมในการพัฒนาให้เข้ากับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
1. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ การมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของประชาชน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งในด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ รายได้และด้านการอนุรักษ์ประเพณี
วัฒนธรรม โดยการเน้นให้เกิดกระบวนการ ร่วมคิด – ร่วมทำ ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เป็นการกระตุ้นเร้า
ให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตนเอง
2. การพัฒนาคนให้คิดเอง – ทำเอง ผลที่จะได้รับจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อประชาชนได้รับการกระตุ้น
ให้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องพยายามให้ประชาชนมีบทบาทในการร่วมคิดร่วมทำเองได้
3. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยใช้กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเครื่องมีในการสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ชุมชน กล่าวคือในการดำเนินงานทุกกิจกรรมนอกจากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำแล้ว ยังต้องทำให้เกิดการ
รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งอย่างถาวร นอกจากนี้ยังต้องเสริมสร้างและพัฒนศักยภาพของชุมชนในทุกด้าน ให้มีศักยภาพ
เพียงพอจนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_8.html
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน


ความเป็นมา l ภารกิจ ตชด.
ความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของ
ราษฎรบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จึงได้พระราชดำริ
เกี่ยวกับงานพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาอาชีพของราษฎรบริเวณดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยสรุปพระราชทานได้ดังนี้
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน
แก่เจ้าหน้าที่ชลประทาน ณ วัดปทุมวรนารามราชวรวิหาร สรุปความว่า
“ควรเปิดโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนเนื้อที่ประมาณ 102,000 ไร่ โดยมีคณะกรรมการ
บริหารโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆ และกำหนดพื้นที่โครงการฯ ออกเป็นเขตให้สอดคล้องกับ
โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการพัฒนารูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมคือ เขตพัฒนาอาชีพเสริม เขตพัฒนา
การเกษตร และเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่า”

ที่ตั้งและขอบเขตโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมา
จากพระราชดำริ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มุกดาหาร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 184,000 ไร่
พื้นที่อำเภอดงหลวง ครอบคลุมตำบลกกตูม จำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาโคกกุง หมู่ที่3 บ้านสานแว้
หมู่ที่ 4 บ้านคำผักกูด หมู่ที่ 6 บ้านแก่งนาง หมู่ที่ 7,11 และ13 บ้านนาหินกอง หมู่ที่ 8 บ้านปากช่อง หมู่ที่ 9
บ้านศรีถาวรพนา และชุมชนฟ้าประทาน หมูที่ 12 และหมูที่ 13 บ้านทรายทอง หมู่ที่ 15 รวม 102,000 ไร่
่ พื้นที่อำเภอคำชะอี ครอบคลุมตำบลบ้านค้อ จำนวน 4 หมู้บ้าน คือ บ้านตาเปาะ หมู่ที่ 8 และ บ้านโนนสมบูรณ์
ชุมชนคำเบิ่มบ่าม หมูที่ 9, บ้านด่านช้าง หมู่ที่ 10 รวม 82,000ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดสันเขาภูผาผึ้ง ภูโดธ และภูผาแดง
ทิศใต้ จดสันเขาภูผาลาดและห้วยยาง เขตเส้นแบ่งอำเภอดงหลวงกับอำเภอคำชะอีและอำเภอเขาวง
ทิศตะวันออก จดห้วยบางทรายตามแนวเส้นแบ่งเขตอำเภอดงหลวงกับอำเภอคำชะอี
ทิศตะวันตก จดสันเขาภูโคกยักษ์/ภูดงบาก และภูบักคี ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอดงหลวงกับ
อำเภอห้วยเขาวง

ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งน้ำในหุบเขา มีเทือกเขาล้อมรอบทางทิศเหนือ ทิศตันตก และทิศใต้ สภาพทั่วไป
จึงเป็นป่าและภูเขา มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ราบและริมห้วย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเขตพื้นที่โครงการฯ หมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง โดยดำเนินการในระบบปฏิรูป
ที่ดินเพื่อการเกษตรที่สมบูรณ์แบบและให้การจัดการในรูปของสหกรณ์การเกษตร
2. เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยจัดให้มีการพัฒนาอาชีพต่างๆ
3. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค ให้มีปริมาณเพียงพอ
4. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดการทำลายป่าต้นลำธาร โดยป้องกันรักษาป่าที่
อุดมสมบูรณ์ให้คงสภาพเดิม สำหรับป่าที่ถูกทำลายแล้วก็ให้มีการฟื้นฟูกลับสู่สภาพที่สมบูรณ์ดังเดิม

การบริหารโครงการ
เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว จึงกำหนดรูปแบบ
การบริหารโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพราะราชดำริตาม
ลำดับ ดังนี้
คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ประกอบด้วย
1. นายจุนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี เป็น ประธาน
2. คณะอนุกรรมการการดำเนินงานโครงการฯ ประกอบด้วย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็น ประธานคณะอนุกรรมการ
- ผบช.ตชด. เป็น รองประธานอนุกรรมการ
- รอง ผบช.ตชด.(กร) ,ผบก.ตชด.ภาค 2 เป็น กรรมการ
- ผกก.ตชด.23 เป็น ผู้ช่วยเลขานุการ
3. คำสั่ง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 456/2540 ลง 31 ก.ค. 40 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรม
การดำเนินงานโครงการฯ ในส่วนของ บช.ตชด. มี ผบช.ตชด. เป็นประธาน และจัดตั้งกองอำนวยการเฉพาะกิจ
โครงการฯ มี ผกก.ตชด.23 เป็นผอ.กองอำนวยการเฉพาะกิ

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_7.html
โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ
( Olea europaea L. )


ความเป็นมา l การปลูก l การป้องกัน

ความเป็นมา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์


มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์
จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่ง
กระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟ
จึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย
มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของ
ต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหาร
และ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมี
ไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วน
ผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์
ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์
พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือ
และซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง
จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น
ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน
คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares
ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำ
ไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น
* ชื่อประเทศที่เป็นเกาะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ชื่อพื้นเมือง มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Olea europaea L.
OLEACEAE
ชื่อสามัญ Olive
ลักษณะ ไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม
กัน รูปใบหอก กว้าง 1- 1.5 ซ.ม. ยาว 5 – 6 ซ.ม. ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ
โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ย่ว 3 -4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้าน
ล่างสีเทา ดอดช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอดฝอยมีทั้งดอดสมบูรณ์แพศและ
ดอกสมบูรณืเพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบ ดอกมีสีขาว
หรือครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองมีลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี
2 คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมีย
ตรงสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผลสดมีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1 – 4 ซ.ม. กว้าง 0.6 – 2 ซ.ม.
สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง
ประโยชน์ เนื้อไม้ นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ ใบช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด,
พุพอง,อาการเหงือกอักเสบ และใช้ในการห้ามเลือด ผลใช้ประกอบอาหารและทำผลิตภัณฑ์น้ำมัน ป้องกันอาการเส้น
เลือดในสมองตีบ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกสันหลัง

การเจริญเติบโตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
พ.ย. – ก.พ. เป็นระยะพักตัวระหว่างช่วงภูมิอากาศหนาว
มี.ค. – เม.ย. มะกอกโอลีฟจะเริ่มแตกตาดอกและยอดใหม่
พ.ค. – มิ.ย. ตาดอกจะพัฒนาและเริ่มออกดอก
ก.ค. – ส.ค. ผลมะกอกโอลีฟเจริญขึ้นภายหลังกายผสมเกสรเมล็ดที่อยู่ภายใน
ผลเจริญเต็มที่
ต.ค. เนื้อของผลมะกอกโอลีฟจะเจริญสมบูรณ์เต็มที่

ระยะเวลาการสุกแก่ของผลมะกอกโอลีฟจะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธ์
ช่วงกลางเดือน ส.ค. – ต.ค. สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขอลพันธ์ที่สุกแก่
เร็วหรือพันธ์เบาและผลมะกอกโอลีฟที่ใช้เพื่อรับประทานผลเขียว
ช่วงกลางเดือนพ.ย. – ก.พ. เริ่มเก็บเกี่ยงผลผลิตมะกอกโอลีฟเพื่อรับประทานผลดำหรือผลแก่และ
ที่ใช้เพื่อการผลิตน้ำมันมะกอกโอลีฟ

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_6.html
โครงการอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

ความเป็นมา
เมื่อ 14 สิงหาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร.
ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองและฟื้นฟูสภาพ
ป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่คลองบางกราย
ใหญ่และคลองบางกราน้อย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับ
ผู้กำกับการ 1 กองบังคับฝึกพิเศษ ในขณะนั้นให้ดำเนินการศึกษาและหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกไว้
ให้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางกราใหญ๋ และ
คลองบางกราน้อยและเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541
ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยานและทรง
วิ่งออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหกได้ทอดพระเนตรสภาพดิน และพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดิน
ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริ กับ ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่
สีเขียว และมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษาระบบนิเวศนที่ได้ปรับตัว
หลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว
ปีพุทธศักราช 2546 เป็นปีพุทธศักราชแห่งมิ่งมงคลสมัยที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนศนูย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริและมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา
สิริโสภาพัณณวดี ได้ร่วมกันจัดทำอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติเพื่อน้อมเกล้าถวายในศภวาระเป็นสิริมงคลยิ่งนี้
โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงาน
ในบริเวณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวทางในการดำเนินงานในอุทยานเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์
ธรรมชาติที่มีชีวิต ดังนั้นเมื่ออุทยานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วจะเป็ฯสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชา
สามารถในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่าง
ประเทศและป็นสถานที่ศึกษาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของ
สัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของ
ประเทศไทยและของโลก
ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย
เป็นนาอุทยานว่า “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษร
พระนามาภิไธย “สธ” ประดับตราสัญลักษณ์ของอุทยาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ
ุครบ 48 พรรษา ในปี 2546
2. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามรถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้ารการอนุรักษ์
์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ
3. เพื่อฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานชนิด
4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เชิงประวัติศาสตร์ และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
5.เพื่อพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรมเป็ฯพื้นที่การเกษตรที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สาธิตให้ประชาชน
และเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร
6. เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการฝึกรมของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดน
7. เพื่อเป็นที่ศึกษาให้แก่ประชาชนในการกระตุ้น สร้างความคิด ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าใน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
พื้นที่ดำเนินการคือ เขตพระราชนิเวศมฤคทายวัน ในส่วนที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของ
ค่ายพระรามหก และค่ายนเรศวร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวมพื้นที่ประมาณ 2,600 ไร่ ในระยะแรก
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมของอุทยานฯ จำนวน 1,800 ไร่
โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2543 ในลักษณะของโครงการต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
ไว้ 4 ประการคือ
1. ฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าบก ในพื้นที่ให้มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและ
มีความหลากหลายทางชีวภาพ
2. บูรณะและอนุรักษ์หมู่อาคาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตลอดจนส่วนประกอบทางกายภาพ ในพื้นที่ให้คงคุณค่า
ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ในท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
3. พัฒนาให้เป็นแหล่งสาธิต และถ่ายทอดความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับ
ประเทศและนานาชาติ
4. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในระดับประเทศและนานาชาติ

กรอบแนวคิด
1. มุ่งดำเนินให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแนวทางของศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยทราย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. กำหนดให้มีการค้นคว้าศึกษาวิจัยทางวิชาการในแขนงงานทุกสาขาของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. การดำเนินการในทุกวัตถุประสงค์ของโครงการจะมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกัน
ก็ยังคงสามารถสะท้อนแนวทางตามพระราชดำริและเอกลักษณ์ตลอดจนภูมิปัญญาไทยได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน
4.ในการนำเสนอสาระของแต่ละองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่จะเน้นไปที่การรับรู้ได้สัมผัสได้ เรียนรู้ได้
ด้วยตนเอง มีความเคลื่อนไหวที่สามารถถ่ายทอดออกมาถึงจิตวิญญาณและนวคิดอย่างชัดเจนในลักษณะของพิพิธภัณฑ์
์ธรรมชาติที่มีชีวิต
5. มู่เสนอและดำเนินการในรูปของการท่องเที่ยวและสันทนาการในทุกๆ กิจกรรมที่มีศักยภาพไดทั้งความรู้และ
ความเพลิดเพลิน


อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_5.html
โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ฯ
ตามแนวพระราชดำริ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาพระบรมราชินีนาถ


ความเป็นมา l กิจกรรมดำเนินการ

ความเป็นมา
ปี 2547 ฯ พณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการฟื้นฟู ป้องกัน รักษาทรัพยากรป่าไม้ ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
โดยเร็วที่สุด โดยยึดแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
27 กรกฎาคม 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอโครงการหมู่บ้านป่าไม้
ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ให้ ค.ร.ม. พิจารณาให้ความเห็น
ชอบและ ค.ร.ม. เห็นชอบกับโครงการที่ทส.เสนอและให้นำโครงการดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการพิเศษ
เพื่อปรสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นก่อนดำเนินการ
28 กรกฎาคม 2547 คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
พิจารณา โครงการดังกล่าวพบว่าแนวทางโครงการสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
10 สิงหาคม 2547 ค.ร.ม. รับทราบโครงการหมู่บ้านแผนใหม่ตามพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ
72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ที่ กปร. พิจารณาแล้ว
ทส. มอบหมายให้ส่วนราชการหลักที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช
กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรับไปดำเนินการ
กรอบแนวคิด
“ การพัฒนาคน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน สมดุลและยั่งยืน
โดยแนวทางตามพระราชดำริ ”

แนวทางตามพระราชดำริและพระเสาวนีย์
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่
26 กุมภาพันธ์ 2524 ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้
ให้ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ป่าไม้ อยู่ด้วยความร่าเริงใจ ไม่ต้องกลัวถูกจับกุม ขับไล่ โดยการส่งเสริม
สนับสนุนของ ส่วนราชการในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วยจัดที่ทำกินและน้ำสนับสนุนการ สร้างที่อยู่อาศัยและสวัสดิการ
ด้านต่างๆ พัฒนาที่ดินให้มีศักยภาพในการเพาะปลูกวิธีการสร้างหมู่บ้านป่าไม้ ส่งเสริมการปลูกผัก ปลูกข้าว
ให้พออยู่พอกิน สร้างแปลงสาธิตการเกษตรในพื้นที่ชุมชนเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมช่วยเหลือเรื่องการตลาด
ของพืชผลทาง การเกษตรของชาวบ้าน การสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะกล้าไม้
้ในพื้นที่ของตนเอง และส่วนราชการหรือภาคเอกชนซื้อกล้าไม้ของชาวบ้านไปปลูก เป็นต้นสร้างความรู้สึก
ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของพื้นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง หรือกรรมกรของป่าไม้ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ไม่คิดอพยพ
และรักษาหมู่บ้านของเขาเอง สิทธิทำกิน ( สทก.) มิให้มีการซื้อขายพื้นที่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินที่จัดให้แล้วเมื่อไม่ใช่
้ สิทธิในที่ดินนั้นสมควร ที่จะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของส่วนกลางชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน
3.ปรัชญา หรือข้อคิดในการดำเนินงานหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ “ประชาชนอยู่ได้ ป่าไม่อยู่ได้ ”
2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2.1 “ เมืองไทยไม่มีแหล่งนำจืดที่ไหนเลยนอกจากป่า ป่าเป็นแหล่งน้ำจืด ป่าเป็นที่เก็บน้ำ ป่าเป็นที่เก็บน้ำบริสุทธิ์
สำหรับพวกเราได้ทำมาหากินกันได้บริโภคเพื่อว่าพื้นแผ่นดินของเรานี้ ได้เป็นพื้นแผ่นดินที่เป็นประโยชน์ในชีวิตพวกเรา
อย่างแท้จริง” (29 พฤษภาคม 2538 บ้านสร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ )
2.2 โครงการป่ารักน้ำ “ พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัว
สร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า โครงการป่ารักน้ำ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ณ บริเวณเชิงเขาภูผาเหล็ก
ติดต่อกับอ่างเก็บน้ำวังจวง บ.ถ้ำติ้ว ต.ส่องดาว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระราโชวาทสำคัญ ในโครงการหมู่บ้านป่ารักน้ำ
คือ “การจัดการให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ โดยราษฎรไม่มีความคิดว่าที่ตรงนี้เป็ฯเขตบ้านแต่ให้ความรู้สึกว่าเป็นป่าผืน
เดียวกัน และรู้จักรักษาหวงแหนป่าเสมือนเป็นสมบัติของตนเอง”

วัตถูประสงค์
เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันดูแล เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และใช้ประโยชน์
จากป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ 72 พรรษา
พระบรมราชินีนาถ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับตามแนวทางพระราชดำริ

พื้นที่เป้าหมาย
ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช ประกอบด้วยหมู่บ้านที่อยู่ติดเขตและใน
เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพรรณสัตว์ป่า พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ 2 และป่าสงวนแห่งชาติโซน C
โดยปีงบประมาณ 2548 กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่า และพืชพรรณกำหนดหมู่บ้าน เป้าหมายที่อยู่ในเขตควบคุม
รับผิดชอบของ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จำนวน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. ท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ประกอบด้วย
1.1 บ.ร่มเกล้า ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.2 บ.ชมพูเหนือ ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.3 บ.ซุ้มนกแขก ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
1.4 บ.โปร่งพลู ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
2. ท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 6 หมู่ ประกอบด้วย
2.1 กลุ่มบ้านห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.2 กลุ่ม บ.ห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.3 บ.หนองเต่า ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว
์ป่าตะเบาะ - ห้วยใหญ่
2.4 บ.ห้วยโป่งเหนือ ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 1
2.5 บ.เหมืองแบ่ง ต.วังบาล อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 5
2.6 กลุ่ม บ.ภูโปรด ต.บ้านเนิน อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อใหญ่หน่วย

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_3.html
โครงการพัฒนาตามพระราชกระแส
สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บ.ทิไล่ป้า ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


หลักการและเหตุผล
จากการที่สมเด็จพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงงานเยี่ยมโรงเรียนตำรวจ
ตระเวนฯ และราษฎร บ.ทิไล่ป้า ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2545 สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับว่าที่ ร้อยตรีกิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการ
สำนักงานโครงการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและคณะผู้ติดตามเสด็จว่าขอให้ดำเนินการ
ช่วยเหลือพัฒนา คุณภาพชีวิตราษฎร บ.ทิไล่ป้า มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเตรียมความพร้อมของราษฎรเพื่อการพัฒนา
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น
3. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อเสริมความมั่นคงของหมู่บ้านตามแนวชายแดน

เป้าหมาย
1. พัฒนาคนให้คิดเป็นทำเป็นและพึ่งพาตนเองได้
2. พัฒนาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้มีกินมีใช้ และอยู่เย็นเป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ
โดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของราษฎร
3. สร้างจิตสำนึกให้เกิดความหวงแหนทรัพยาการธรรมชาติให้คนกับป่าเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
4. สร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความเป็นไทย

แนวทางการดำเนินงาน
1. ศึกษาวิถีชีวิตของราษฎร
2. ศึกษสภาพปัญหาของราษำรและหมู่บ้าน
3. จัด “เวที่ชาวบ้าน” เพื่อหาข้อยุติการแก้ไขในแต่ละปัญหาโดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของราษฎร
4. ดำเนินการพัฒนาตามข้อยุติที่ได้

แผนปฏิบัติการ
1. จัดเก็บข้อมูลสภาพชีวิตความป็นอยู่ของราษฎรในทุกด้ารระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2545
2. สรุปและรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 7 – 27 ตุลาคม 2545
3. เก็บข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำ “เวทีชาวบ้าน” ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2545
4. เสนอข้อมูลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี,สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี (สสท.)และผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้รับทราบ
ภายในเดือนพฤศจิการยน 2545
5. ร่วมประชุมระหว่างราษฎร, สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในเดือน ธันวาคม 2545
6. จัดทำแผนพัฒนาในเดือน มกราคม 2546 เป็นต้นไป
7. ติดตามและประเมินผล ทุก 4 เดือน

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ดำเนินงาน 3 ปี(พ.ศ. 2546 – 2548)

งบประมาณ
1. องค์การบรหารส่วนตำบล
2. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
3. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
5. ภาคเอกชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาตนเอง และชุมชนของตัวเองให้เข้มแข็งได้ด้วยพลังของราษฎรเอง
2. ราษฎรมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีกินมีใช้ และอยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น
3. ราษฎรรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกับป่าไม้ด้วยจิตสำนึกที่พึ่งพา
ตนเองอาศัยกันระหว่างคนกับป่า
4. ราษฎรมีจิตสำนึกในการรักชาติศาสนา พระมหากษัตรย์ และความเป็นคนไทย

พ.ต.ท.เชน ทรงเดช ผบ.ร้อย 134 ผู้เสนอโครงการ
พ.ต.อ.ถาสุข ว่องวาจานนท์ ผกก.ตชด.13 ผู้เห็นชอบโครงการ
นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ผวจ.กาญจนบุรี ผู้อนุมัติโครงการ


อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_2.html
โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )
อันเนื่องมาจากพระราชดําริ


ความเป็นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี
พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่า
พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชน
มาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่าง
แรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความ
ชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์
ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จ
พระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้ว
รัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปร
พระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราช
เลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดช
หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้าน
อีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับใน
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์
ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ
พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา
มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์
ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า
" ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จ
พระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพล
จังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วย
พลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง
ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับ
พระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็น
ครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็น
สภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็น
สุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุง
แต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายาม
ทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก
พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชา
การทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ
ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบ
ในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะ
รัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย
ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1
ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560
นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่
ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทาง
ดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่
2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่
3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่
4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่
5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่
6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่
่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_18.html

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสำคัญของนวัตกรรม

ความสำคัญของนวัตกรรมในการแข่งขันยุคใหม่
มองมุมใหม่ : ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย pasu@acc.chula.ac.th กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 9 ธันวาคม 2546
ปัจจุบันผมจะได้ยินผู้บริหารจำนวนมากที่พูดถึงคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น ผู้บริหารมักจะต้องการให้องค์กรที่ตนเองบริหารอยู่มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรม หรือมีความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาในหมู่ผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างว่านวัตกรรมนั้นจริงๆ แล้วคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นจะทำได้อย่างไร?
มักจะมีความเข้าใจผิดอยู่มากเวลาเรานึกถึงคำว่านวัตกรรมว่าต้องหมายถึง สิ่งที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงหรือสินค้าใหม่ๆ ที่มีความเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่ชอบออกมาดึงดูดเงินในกระเป๋าของเรา อีกทั้งยังมีความเข้าใจว่านวัตกรรมก็คือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วคำว่านวัตกรรมไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเท่านั้น
รากศัพท์ของคำว่า Innovation มาจากภาษาละตินว่า 'innovare' ที่แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันเมื่อเปิดดูพจนานุกรมของ สอ เสถบุตร ก็จะพบว่าคำว่า Innovation แปลเป็นไทยว่า เปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อเราพูดถึงนวัตกรรม เราไม่ได้พูดถึงแต่เฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้น ผมขออนุญาตตีความหมายรวมเลยว่านวัตกรรมน่าจะหมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสิ่งใหม่ๆ
เมื่อเราเข้าใจในที่มาของคำว่านวัตกรรมแล้ว คิดว่าท่านผู้อ่านก็คงจะเห็นภาพนะครับว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมถึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และการแข่งขันในปัจจุบัน จริงๆ แล้วคงไม่ใช่แค่องค์กรธุรกิจเท่านั้นหรอกนะครับ ผมเชื่อว่าองค์กรทุกประเภทควรจะต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรม เนื่องจากในปัจจุบัน ถ้าองค์กรไม่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยสิ่งใหม่ๆ แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ หน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรหลายแห่งเริ่มที่จะพยายามพัฒนาตนเองในเชิงของนวัตกรรมมากขึ้น อย่างเช่นในหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เราก็ได้มีการกำหนดกลยุทธ์หลักของคณะในอันที่จะเป็น Innovative Business School เป็นต้น
ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูองค์กรที่เป็นผู้นำในแต่ละธุรกิจดูซิครับ แล้วจะพบว่าความสำเร็จขององค์กรเหล่านั้นเกิดขึ้นจาก นวัตกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการให้บริการ ด้านการจัดการ หรือด้านการตลาด และการที่องค์กรเหล่านี้จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องก็ต้องเกิดขึ้นจากนวัตกรรมเช่นกัน
ถ้าองค์กรไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองจากสิ่งใหม่ๆ ได้แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรยังคงครองความเป็นที่หนึ่งได้ อย่างมากก็เป็นเพียงองค์กรธรรมดาๆ อีกแห่งหนึ่งเท่านั้นเอง
เมื่อท่านผู้อ่านเห็นความสำคัญของนวัตกรรมแล้ว ก็คงเกิดคำถามขึ้นในใจต่อนะครับ ว่าแล้วจะพัฒนาองค์กรของท่านให้มีลักษณะเป็น Innovative Organization หรือองค์กรแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร? การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของผู้บริหารทุกองค์กร เพียงแต่จะต้องมีความเข้าใจต่อคุณลักษณะของ Innovative Organization เสียก่อน อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าคำว่าองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีหน่วยงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เท่านั้น แต่การที่จะเป็น Innovative Organization ได้จะต้องเกิดขึ้นจากทั้งองค์กร เราลองมาดูกันนะครับว่าองค์กรที่มีลักษณะเป็น Innovative Organization ควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
แรกสุดก็คงหนีไม่พ้นทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization อีกทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหาร ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่เขียนไว้เฉยๆ ว่าต้องการเป็น Innovative Organization แต่ผู้บริหารกลับไม่ได้ทำตัวให้เหมาะสมกับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เมื่อทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้บริหารชัดเจนแล้ว ก็คงจะต้องตามด้วยโครงสร้างองค์กรที่กระตุ้น และก่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงสร้าง ที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังด้วยนะครับไม่ให้โครงสร้างมีลักษณะที่หลวมเกินไป เมื่อโครงสร้างสนับสนุนแล้ว ก็ต้องมีบุคลากรที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ภายใต้กระบวนการนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพในโครงการ (Champions) หรือผู้สนับสนุน (Promoters) อีกทั้งบุคลากรภายในองค์กร ยังจะต้องมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากกว่าปัจเจกบุคคล
ทั้งนี้เนื่องจากนวัตกรรมจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกันของบุคคลที่มีพื้นฐานที่หลากหลายมากกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องอย่าลืมความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรนะครับ เนื่องจากการที่บุคลากรจะเป็นผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้บุคลากรเองจะต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม
นอกเหนือจากในเรื่องของทิศทาง โครงสร้าง การทำงานเป็นทีม และบุคคลแล้ว องค์กรที่จะมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยังจะต้องให้ความสำคัญกับบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงานด้วย โดยถ้าเป็นไปได้องค์กรควรที่จะสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับนวัตกรรมเป็นสำคัญ และต้องอย่าลืมว่าการจะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้นั้นความเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากหลายครั้งที่นวัตกรรมที่สำคัญภายในองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากภายใน แต่เป็นการสามารถเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ จากภายนอกเข้ามารวมกันได้
ข้างต้นเป็นเพียงแค่บางส่วนของคุณลักษณะขององค์กรแห่งนวัตกรรมนะครับ ท่านผู้อ่านคงจะเห็นด้วยนะครับที่คำว่านวัตกรรมเป็นคำที่ดูดี เมื่อนำไปใส่ในวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ขององค์กรใดก็แล้วแต่ ก็จะทำให้องค์กรนั้นดูดีไปด้วย แต่การที่จะพัฒนาองค์กรของตนเองให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
การที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมเกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น องค์กรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง?
ประการแรกคงจะต้องเริ่มจากกลยุทธ์ขององค์กร ที่จะต้องมุ่งเน้นในด้านนวัตกรรมเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นในด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลต่อองค์กร ประการที่สององค์กรจะต้องมีเครื่องมือ กิจกรรม และแผนงานต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือในการบริหารโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไป


อ้างอิงhttp://www.nidambe11.net/ekonomiz/2003q4/article2003dec09p3.htm

ความหมายของนวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

อ้างอิงโดย
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm