วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ฯ
ตามแนวพระราชดำริ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาพระบรมราชินีนาถ


ความเป็นมา l กิจกรรมดำเนินการ

ความเป็นมา
ปี 2547 ฯ พณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการฟื้นฟู ป้องกัน รักษาทรัพยากรป่าไม้ ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
โดยเร็วที่สุด โดยยึดแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
27 กรกฎาคม 2547 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอโครงการหมู่บ้านป่าไม้
ตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ให้ ค.ร.ม. พิจารณาให้ความเห็น
ชอบและ ค.ร.ม. เห็นชอบกับโครงการที่ทส.เสนอและให้นำโครงการดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการพิเศษ
เพื่อปรสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นก่อนดำเนินการ
28 กรกฎาคม 2547 คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
พิจารณา โครงการดังกล่าวพบว่าแนวทางโครงการสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
10 สิงหาคม 2547 ค.ร.ม. รับทราบโครงการหมู่บ้านแผนใหม่ตามพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ
72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ที่ กปร. พิจารณาแล้ว
ทส. มอบหมายให้ส่วนราชการหลักที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช
กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรับไปดำเนินการ
กรอบแนวคิด
“ การพัฒนาคน ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน สมดุลและยั่งยืน
โดยแนวทางตามพระราชดำริ ”

แนวทางตามพระราชดำริและพระเสาวนีย์
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่
26 กุมภาพันธ์ 2524 ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้
ให้ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ป่าไม้ อยู่ด้วยความร่าเริงใจ ไม่ต้องกลัวถูกจับกุม ขับไล่ โดยการส่งเสริม
สนับสนุนของ ส่วนราชการในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วยจัดที่ทำกินและน้ำสนับสนุนการ สร้างที่อยู่อาศัยและสวัสดิการ
ด้านต่างๆ พัฒนาที่ดินให้มีศักยภาพในการเพาะปลูกวิธีการสร้างหมู่บ้านป่าไม้ ส่งเสริมการปลูกผัก ปลูกข้าว
ให้พออยู่พอกิน สร้างแปลงสาธิตการเกษตรในพื้นที่ชุมชนเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมช่วยเหลือเรื่องการตลาด
ของพืชผลทาง การเกษตรของชาวบ้าน การสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะกล้าไม้
้ในพื้นที่ของตนเอง และส่วนราชการหรือภาคเอกชนซื้อกล้าไม้ของชาวบ้านไปปลูก เป็นต้นสร้างความรู้สึก
ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของพื้นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง หรือกรรมกรของป่าไม้ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ไม่คิดอพยพ
และรักษาหมู่บ้านของเขาเอง สิทธิทำกิน ( สทก.) มิให้มีการซื้อขายพื้นที่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินที่จัดให้แล้วเมื่อไม่ใช่
้ สิทธิในที่ดินนั้นสมควร ที่จะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของส่วนกลางชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน
3.ปรัชญา หรือข้อคิดในการดำเนินงานหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ “ประชาชนอยู่ได้ ป่าไม่อยู่ได้ ”
2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2.1 “ เมืองไทยไม่มีแหล่งนำจืดที่ไหนเลยนอกจากป่า ป่าเป็นแหล่งน้ำจืด ป่าเป็นที่เก็บน้ำ ป่าเป็นที่เก็บน้ำบริสุทธิ์
สำหรับพวกเราได้ทำมาหากินกันได้บริโภคเพื่อว่าพื้นแผ่นดินของเรานี้ ได้เป็นพื้นแผ่นดินที่เป็นประโยชน์ในชีวิตพวกเรา
อย่างแท้จริง” (29 พฤษภาคม 2538 บ้านสร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ )
2.2 โครงการป่ารักน้ำ “ พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัว
สร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า โครงการป่ารักน้ำ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ณ บริเวณเชิงเขาภูผาเหล็ก
ติดต่อกับอ่างเก็บน้ำวังจวง บ.ถ้ำติ้ว ต.ส่องดาว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระราโชวาทสำคัญ ในโครงการหมู่บ้านป่ารักน้ำ
คือ “การจัดการให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ โดยราษฎรไม่มีความคิดว่าที่ตรงนี้เป็ฯเขตบ้านแต่ให้ความรู้สึกว่าเป็นป่าผืน
เดียวกัน และรู้จักรักษาหวงแหนป่าเสมือนเป็นสมบัติของตนเอง”

วัตถูประสงค์
เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันดูแล เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และใช้ประโยชน์
จากป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริ 72 พรรษา
พระบรมราชินีนาถ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับตามแนวทางพระราชดำริ

พื้นที่เป้าหมาย
ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช ประกอบด้วยหมู่บ้านที่อยู่ติดเขตและใน
เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพรรณสัตว์ป่า พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ 2 และป่าสงวนแห่งชาติโซน C
โดยปีงบประมาณ 2548 กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่า และพืชพรรณกำหนดหมู่บ้าน เป้าหมายที่อยู่ในเขตควบคุม
รับผิดชอบของ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จำนวน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. ท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ประกอบด้วย
1.1 บ.ร่มเกล้า ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.2 บ.ชมพูเหนือ ต.ชมพู อ.เนินมะปราง
1.3 บ.ซุ้มนกแขก ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
1.4 บ.โปร่งพลู ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง
2. ท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 6 หมู่ ประกอบด้วย
2.1 กลุ่มบ้านห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.2 กลุ่ม บ.ห้วยหว้า ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว์ป่าภูผาแดง
2.3 บ.หนองเต่า ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของเขตรักษาพรรณสัตว
์ป่าตะเบาะ - ห้วยใหญ่
2.4 บ.ห้วยโป่งเหนือ ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 1
2.5 บ.เหมืองแบ่ง ต.วังบาล อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อ – น้ำชุนที่ 5
2.6 กลุ่ม บ.ภูโปรด ต.บ้านเนิน อ.หล่มเก่า อยู่ในความควบคุมรับผิดชอบของหน่วยปลูกป่าน้ำก้อใหญ่หน่วย

อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น