วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาตามพระราชกระแส
สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บ.ทิไล่ป้า ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


หลักการและเหตุผล
จากการที่สมเด็จพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงงานเยี่ยมโรงเรียนตำรวจ
ตระเวนฯ และราษฎร บ.ทิไล่ป้า ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2545 สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับว่าที่ ร้อยตรีกิตติ ขันธมิตร รองผู้อำนวยการ
สำนักงานโครงการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและคณะผู้ติดตามเสด็จว่าขอให้ดำเนินการ
ช่วยเหลือพัฒนา คุณภาพชีวิตราษฎร บ.ทิไล่ป้า มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเตรียมความพร้อมของราษฎรเพื่อการพัฒนา
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น
3. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อเสริมความมั่นคงของหมู่บ้านตามแนวชายแดน

เป้าหมาย
1. พัฒนาคนให้คิดเป็นทำเป็นและพึ่งพาตนเองได้
2. พัฒนาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้มีกินมีใช้ และอยู่เย็นเป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ
โดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของราษฎร
3. สร้างจิตสำนึกให้เกิดความหวงแหนทรัพยาการธรรมชาติให้คนกับป่าเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
4. สร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความเป็นไทย

แนวทางการดำเนินงาน
1. ศึกษาวิถีชีวิตของราษฎร
2. ศึกษสภาพปัญหาของราษำรและหมู่บ้าน
3. จัด “เวที่ชาวบ้าน” เพื่อหาข้อยุติการแก้ไขในแต่ละปัญหาโดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของราษฎร
4. ดำเนินการพัฒนาตามข้อยุติที่ได้

แผนปฏิบัติการ
1. จัดเก็บข้อมูลสภาพชีวิตความป็นอยู่ของราษฎรในทุกด้ารระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2545
2. สรุปและรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 7 – 27 ตุลาคม 2545
3. เก็บข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำ “เวทีชาวบ้าน” ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2545
4. เสนอข้อมูลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี,สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี (สสท.)และผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้รับทราบ
ภายในเดือนพฤศจิการยน 2545
5. ร่วมประชุมระหว่างราษฎร, สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในเดือน ธันวาคม 2545
6. จัดทำแผนพัฒนาในเดือน มกราคม 2546 เป็นต้นไป
7. ติดตามและประเมินผล ทุก 4 เดือน

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ดำเนินงาน 3 ปี(พ.ศ. 2546 – 2548)

งบประมาณ
1. องค์การบรหารส่วนตำบล
2. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
3. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
5. ภาคเอกชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาตนเอง และชุมชนของตัวเองให้เข้มแข็งได้ด้วยพลังของราษฎรเอง
2. ราษฎรมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีกินมีใช้ และอยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น
3. ราษฎรรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกับป่าไม้ด้วยจิตสำนึกที่พึ่งพา
ตนเองอาศัยกันระหว่างคนกับป่า
4. ราษฎรมีจิตสำนึกในการรักชาติศาสนา พระมหากษัตรย์ และความเป็นคนไทย

พ.ต.ท.เชน ทรงเดช ผบ.ร้อย 134 ผู้เสนอโครงการ
พ.ต.อ.ถาสุข ว่องวาจานนท์ ผกก.ตชด.13 ผู้เห็นชอบโครงการ
นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ผวจ.กาญจนบุรี ผู้อนุมัติโครงการ


อ้างอิง http://www.bpp.go.th/project/project_2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น